วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

การสนับสนุนการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช...


การสนับสนุนการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช......

ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง  ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช....  ในวันที่  ๗  สิงหาคม  ๒๕๕๙  และตามหนังสือ.... ด่วนที่สุด   ที่ พร ๐๐๑๘.๑/ว ๑๘๕๑  ลงวันที่  ๑๑ พฤษภาคม  ๒๕๕๙ เรื่อง  การเตรียมการสนับสนุนการจัดการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ ในภารกิจของสำนักทะเบียน  หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ประจำ.... ด่วนที่สุด ที่ ลต (พร) ๐๗๐๒/ว ๒๕๐ ลงวันที่  ๑๒  พฤษภาคม  ๒๕๕๙ เรื่อง  ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติของนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่น  เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช....... ในด้านภารกิจความรับผิดชอบของสำนักทะเบียนท้องถิ่น............  ได้ดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนดำเนินการ
๑.       จัดทำบันทึกเพื่อขออนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเพื่อดำเนินการสนับสนุนการจัดการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.......
๒.      เมื่อได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการสนับสนุนการจัดการลงประชามติฯ จากนายกเทศมนตรี........ เรียบร้อยแล้ว ดำเนินการจัดทำคำสั่ง............  ที่ ............. เรื่อง  การแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานนอกเวลาราชการเพื่อสนับสนุนการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ................ เนื่องจากบางภารกิจไม่สามารถปฏิบัติงานในเวลาราชการได้
๓.  จัดทำคำสั่ง  สำนักทะเบียนท้องถิ่น............ ที่ ..............  เรื่อง  การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่
รับผิดชอบปฏิบัติงานสนับสนุนการออกเสียงประชามติฯ
๔. รับลงทะเบียนผู้มีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงการออกเสียงนอกเขตจังหวัด  ระหว่างวันที่  ๑ พฤษภาคม ถึงวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๒๕๕๙ ซึ่งสำนักทะเบียนท้องถิ่น............  มีผู้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดทั้งหมด  จำนวน  ๓  ราย  ขั้นตอนในการยื่นคำร้อง ผู้ยื่นคำร้องยื่นคำร้อง ณ  สำนักทะเบียนท้องถิ่น............  ณ  ที่ว่าการ....  เมื่อได้รับคำร้องแล้วดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของผู้ยื่นคำร้องเบื้องต้นกับฐานข้อมูลระบบงานเลือกตั้ง  ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติสามารถลงทะเบียนได้   รับคำร้องเสนอให้นายทะเบียนพิจารณา นายทะเบียนพิจารณาอนุมัติรับคำร้องดำเนินการบันทึกข้อมูลของลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตจังหวัดในระบบคอมพิวเตอร์ งานเลือกตั้ง  การออกเสียงประชามติ ดำเนินการบันทึกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว แจ้งให้กับผู้ยื่นคำร้องทราบตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ให้ตอบกลับภายใน ๓ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
๕. จัดทำบันทึกหน่วยออกเสียงประชามติ  ระหว่างวันที่  ๓๐  มิถุนายน  ถึงวันที่  ๓   กรกฎาคม ๒๕๕๙ โดยติดต่อประสานงานกับกำนันผู้ใหญ่บ้านทั้ง  ๑๐  หมู่บ้าน  เพื่อจัดทำร่างหน่วยและกำหนดสถานที่ออกเสียงประชามติ  ในเขตพื้นที่........  มีจำนวน  ๑๐  หมู่บ้าน  มีหน่วยออกเสียงจำนวน  ๑๒  หน่วยออกเสียง  ส่งให้คณะอนุกรรมการออกเสียงประจำอำเภอก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า  ๒๕  วัน  เพื่อพิจารณาลงนามปิดประกาศตามแบบ อ.ศ. ๔  จำนวน  ๔  ชุด 
๖.       เมื่อคณะอนุกรรมการออกเสียงประจำอำเภอได้รับร่างประกาศหน่วยออกเสียง  และที่ออกเสียงแล้วตรวจสอบว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือไม่  เห็นว่าถูกต้อง จัดพิมพ์ประกาศกำหนดหน่วยออกเสียงและที่ออกเสียง  ระหว่างวันที่ ๔ ถึงวันที่ ๗  กรกฏาคม๒๕๕๙ จำนวน  ๔  ชุด  เพื่อให้ประธานคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอลงนามแล้วดำเนินการ ดังนี้  ชุดที่ ๑  ปิดประกาศ  ณ ที่ออกเสียง  ชุดที่ ๒  ส่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด  เพื่อเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ชุดที่ ๓  มอบให้คณะกรรมการประจำหน่วยออกเสียงปิดประกาศ  ณ  ที่ออกเสียงในวันออกเสียงชุดที่ ๔ ให้นายทะเบียนเก็บรักษาไว้เป็นชุดสำรอง
๗.  ประมวลผลข้อมูลผู้มีสิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดและส่งข้อมูลไปหมายเหตุในบัญชีปกติ
ระหว่างวันที่  ๘ ถึงวันที่  ๑๑  กรกฎาคม  ๒๕๕๙ 
๘. ส่งประกาศหน่วยออกเสียงและที่ออกเสียงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขต  วันที่  ๘ กรกฎาคม  ๒๕๕๙
๙.  จัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง  ก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า  ๒๕ วัน  ระหว่างวันที่ ๑๒  ถึงวันที่  ๑๕  กรกฎาคม  ๒๕๕๙  ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร  หรือผู้ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางมอบหมายมีหน้าที่จัดทำร่างประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงตามแบบ อ.ส.๖ จำนวน  ๔  ชุด ส่งให้คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอเพื่อพิจารณา เมื่อคณะอนุกรรมการออกเสียงประจำอำเภอได้รับร่างประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงจากนายทะเบียนท้องถิ่น ตรวจสอบความถูกต้องแล้วคณะอนุกรรมการประจำอำเภอมอบหมายจะลงนามประกาศบัญชีรายชื่อและปิดประกาศ  ณ  สถานที่ที่กำหนดไม่น้อยกว่า  ๒๐ วัน    การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง
- จัดทำเป็นรายหน่วยออกเสียง  (หมู่บ้าน) โดยเรียงตามลำดับเลขหมายประจำบ้านรวมทั้งให้จัดเรียงตามตัวอักษรของผู้มีสิทธิออกเสียงในแต่ละบ้าน
-  ต้องมีรายการ  เลขหมายประจำบ้าน  เลขประจำตัวประชาชน  ชื่อตัว  ชื่อสกุล  เพศ
-  มีชื่อ สกุล และตำแหน่งของผู้พิมพ์และผู้ทานที่สามารถตรวจสอบได้
-  บัญชีรานชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงให้จัดทำจำนวน  ๔  ชุด  ให้ปิดประกาศ  ดังนี้
ชุดที่ ๑  ปิดประกาศไว้  ณ  ที่ออกเสียง
ชุดที่ ๒  สำหรับนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น  ใช้แก้ไปรับปรุงกรณี
การเพิ่มชื่อ  การถอนชื่อ  หรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แล้วเก็บรักษาไว้
                       ชุดที่ ๓  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น แก้ไขปรับปรุงให้ตรงกับ
                                      ชุดที่ ๒  แล้วมอบให้คณะกรรมการประจำหน่วยออกเสียงปิดประกาศ
ณ  ที่ออกเสียง  ในวันออกเสียง

                     ชุดที่ ๔  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น  แก้ไขปรับปรุงให้ตรงกับ
                                      ชุดที่ ๒  แล้วจัดทำปกให้มีความแตกต่างจากชุดอื่น  เพื่อส่งมอบให้
                                      คณะกรรมการประจำหน่วยออกเสียไว้ใช้ตรวจสอบการใช้สิทธิออกเสียง
                                      และให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงลายมือชื่อในการลงคะแนนออกเสียง
๑๐.   ส่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิอกเสียงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด  วันที่  ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๑๑.   จัดทำหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงไปยังเจ้าบ้านภายหลังการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น  ต้องจัดทำหนังสือตามแบบ อ.ส. ๗ เป็นรายบ้านเพื่อแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงไปให้เจ้าบ้านแต่ละบ้านทราบก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า  ๑๕  วัน  ระหว่างวันที่  ๑๗  ถึงวันที่  ๑๙   กรกฎาคม  ๒๕๕๙ 
๑๒.   จัดส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน  ตามแบบ อ.ส.๗ ให้กับไปรษณีย์ เพื่อส่งเจ้าบ้านในวันที่  ๒๐กรกฎาคม
๒๕๕๙
๑๓.   รับคำร้องขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ ในบัญชีผู้มีสิทธิออกเสียงระหว่างวันที่  ๑๗  ถึงวันที่  ๒๗
กรกฎาคม  ๒๕๕๙  การดำเนินการกรณีพบว่าบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงมีความผิดพลาด  กรณีนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น  หรือคณะอนุกรรมการออกเสียงประจำอำเภอพบว่าบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ว่าพบสาเหตุดังกล่าวก่อนหรือหลังการปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง  ให้รายงานต่อคณะกรรมการออกเสียงประจำเขตออกเสียงโดยเร็ว
          เมื่อคณะกรรมการออกเสียงประจำเขตออกเสียงได้รับรายงานกรณีดังกล่าวต้องรีบพิจารณาโดยเร็ว (ภายใน  ๓  วัน)  หากพิจารณาแล้วเห็นว่าบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงของหน่วยออกเสียงใดมีชื่อตกหล่นหรือปรากฏชื่อบุคคลผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  คณะกรรมการการออกเสียงประจำเขตออกเสียงต้องมีคำสั่งให้เพิ่มชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงที่มีชื่อตกหล่นหรือมีคำสั่งให้ถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิออกเสียงแล้วแต่กรณี และแจ้งคำสั่งไปยังนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน  นับแต่วันที่ได้รับรายงาน
วิธีการเพิ่มชื่อ
          ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการการออกเสียงประจำเขตออกเสียงด้วยวิธีการพิมพ์ชื่อและรายการเพิ่มเติมต่อใบสุดท้ายของบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงในหน่วยนั้น  พร้อมทั้ง  บันทึกสาเหตุของการเพิ่มชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี  กำกับไว้  และให้แจ้งเจ้าบ้าน พร้อมด้วยเหตุผลภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการการออกเสียงประจำเขตออกเสียงมีคำสั่ง

การเพิ่มชื่อโดยเจ้าบ้านหรือผู้มีสิทธิออกเสียง
          กรณีผู้มีสิทธิออกเสียงหรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนเป็นผู้มีคุณสมบัติ เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงแต่ไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิออกเสียงของหน่วยออกเสียงนั้น ให้ผู้นั้นนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้มายื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อ ตามแบบ อ.ส.๗ ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า  ๑๐ วัน  เมื่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นได้รับคำร้องและหลักฐานแล้วให้รีบตรวจสอบหลักฐานกรณีเห็นว่า 
          เป็นผู้มีสิทธิออกเสียง  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นมีคำสั่งเพิ่มชื่อลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงด้วยวิธีพิมพ์รายชื่อและรายการเพิ่มเติมต่อในใบสุดท้ายของบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงของหน่วยออกเสียงนั้น พร้อมบันทึกสาเหตุของการเพิ่มชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน  ปี กำกับไว้ แล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าบ้านทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
          เป็นผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น  มีคำสั่งยกเลิกคำร้องและแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องและแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าบ้านทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน  นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
          กรณีผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าบ้านที่ได้รับจากจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแล้ว        ไม่เห็นชอบด้วย  ให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอก่อนวันออกเสียงประชามติไม่น้อยกว่า  ๕  วัน  เพื่อขอให้พิจารณาเพิ่มชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง เมื่อคณะอนุกรรมการการออกเสียงพิจารณาแล้วเห็นว่า
          กรณีเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง  ให้คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่งเพิ่มชื่อผู้นั้นลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงและแจ้งคำสั่งนั้นไปยังนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน  นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง  ในกรณีนี้ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นปฏิบัติตามคำสั่งของคณะอนุกรรมการการเสียงประจำอำเภอ  โดยให้ดำเนินการเพิ่มชื่อ และแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าบ้านทราบภายใน  ๓  วัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่ง
          กรณีเป็นผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  ให้คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่งยกคำร้อง และแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าบ้านทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน ๓ วัน นับแต่วนที่คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่งของคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอให้เป็นที่สุด
วิธีการถอนชื่อ
                   ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการการออกเสียงประจำเขตออกเสียงที่ให้ถอนชื่อ  ด้วยวิธีการขีดฆ่าชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง พร้อมทั้งบันทึกสาเหตุของการถอนชื่อไว้ในช่องหมายเหตุลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้และให้แจ้งเจ้าบ้านพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน  นับแต่วันที่คณะกรรมการการออกเสียงประจำเขตออกเสียงมีคำสั่ง         
          การถอนชื่อโดยผู้มีสิทธิออกเสียง 
          กรณีผู้มีสิทธิออกเสียงผู้ใดเห็นว่า  ในบัญชีผู้มีสิทธิออกเสียงของหน่วยออกเสียง  มีชื่อผู้ไม่มีสิทธิออกเสียงปรากฏอยู่  ผู้มีสิทธิออกเสียงนั้นสามารถยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานขอถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิออกเสียงดังกล่าวออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง  ตามแบบ อ.ส.๘ ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน เมื่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นได้พิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่า
          กรณีเป็นผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นมีคำสั่งถอนชื่อผู้นั้นออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง  โดยให้ดำเนินการขีดฆ่าพร้อมบันทึกสาเหตุของการถอนชื่อไว้ในช่อง   หมายเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้  แล้วให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้อง  เจ้าบ้าน  และผู้ถูกถอนชื่อทราบภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
          กรณีเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นมีคำสั่งยกเลิกคำร้องและแจ้งผู้ยื่นคำร้องทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
          กรณีที่ผู้ยื่นคำร้องได้รับแจ้งจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น  แล้วไม่เห็นชอบด้วย  ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า  ๕  วัน เพื่อขอให้พิจารณาถอนชื่อบุคคลผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง ถ้าคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอเห็นว่า
          กรณีเป็นผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  ให้อนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่งถอนชื่อบุคคลนั้นออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง  และแจ้งคำสั่งไปยังนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓ วัน  นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นปฏิบัติตามคำสั่งของคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอโดยการขีดฆ่าชื่อออก  และแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน  ๓  วันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่ง
          กรณีเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง  ให้อนุกรรมการการเสียงประจำอำเภอมีคำสั่งยกเลิกคำร้อง  และแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่ง  โดยคำสั่งของคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอให้เป็นที่สุด
          การถอนชื่อโดยเจ้าบ้าน
          กรณีเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ในบัญชีผู้มีสิทธิออกเสียงปรากฏชื่อบุคคลอื่นในบ้านของตน  โดยที่บุคคลนั้นมิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวจริง  ให้เจ้าบ้านหรือเจ้าบ้านมอบหมายนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปแสดงเป็นหลักฐานต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า  ๑๐  วันถ้านายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นพิจาณาแล้วเห็นว่า
          เป็นผู้มีสิทธิออกเสียง  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นมีคำสั่งยกคำร้องและแจ้งให้เจ้าบ้านหรือผู้ซึ่งเจ้าบ้านมอบหมายทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
          เป็นผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น  มีคำสั่งถอนชื่อบุคคลนั้นออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง โดยการขีด ฆ่าชื่อออก  และแจ้งคำสั่งให้เจ้าบ้านหรือผู้ซึ่งเจ้าบ้านมอบหมายทราบภายใน  ๓  วัน  นับแต่วันที่ได้รับหลักฐานจากเจ้าบ้านหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย
          กรณีเจ้าบ้านหรือผู้ซึ่งเจ้าบ้านมอบหมายได้รับจากจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแล้วไม่เห็นขอบด้วย  ให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอก่อนวันออกเสียงประชามติไม่น้อยกว่า  ๕  วัน  เพื่อขอให้พิจารณาถอนชื่อบุคคลผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  เมื่อคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอเห็นว่า
          กรณีผู้ถูกถอนชื่อเป็นผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง  ให้อนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่งถอนชื่อบุคคลนั้นออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงและแจ้งคำสั่งนั้นไปยังนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นพร้อมด้วยเหตุผลภายใน  ๓  วัน  นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นปฏิบัติตามคำสั่งของคณะอนุกรรมการการเสียงประจำอำเภอ  โดยให้ดำเนินการขีด ฆ่าชื่อออก และแจ้งคำสั่งให้เจ้าบ้านหรือผู้ซึ่งเจ้าบ้านมมอบหมายทราบภายใน  ๓  วัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่ง
          กรณีผู้ที่ถูกถอนชื่อเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง  ให้อนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่ง        ยกคำร้อง และแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน ๓ วัน นับแต่วนที่คณะอนุกรรมการการอกเสียงประจำอำเภอมีคำสั่งของคณะอนุกรรมการการออกเสียงประจำอำเภอให้เป็นที่สุด
๑๔. พิมพ์บัญชีผู้มีสิทธิออกเสียงเพิ่มเติมในส่วนของผู้ขอเพิ่มชื่อ ระหว่างในที่  ๒๗  ถึงวันที่  ๒๙ กรกฎาคม  ๒๕๕๙
๑๕. ให้บริการตรวจสอบการใช้สิทธิออกเสียงระหว่างวันที่  ๑๗ กรกฎาคม  ถึงวันที่ ๗  สิงหาคม ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การแจ้งย้ายที่อยู่

 การแจ้งย้ายที่อยู่
                   เมื่อผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านย้ายออกจากบ้านที่ตนมีชื่ออยู่  ไม่ว่าจะไปประกอบอาชีพหรือย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่น  จะต้องแจ้งย้ายออกต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน  ๑๕  วัน  นับแต่วันที่ย้ายออกจากบ้านและเมื่อมีคนย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน  ผู้มีหน้าที่แจ้งก็จะต้องแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน  ๑๕  วัน  นับวันที่ผู้นั้นเข้าอยู่ในบ้าน
                   นอกจากนี้  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน  ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กับบ้านที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  ผู้ย้ายที่อยู่สามารถยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าในคราวเดียวกันได้ที่สำนักทะเบียน แห่งท้องที่ที่บ้านหลังที่ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่นั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ โดยผู้ย้ายที่อยู่ไม่ต้องกลับไปแจ้งย้ายออก ณ  สำนักทะเบียนที่บ้านหลังเดิมตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ เรียกว่าการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางการแจ้งย้ายที่อยู่นั้น  ผู้มีหน้าที่ย้ายที่อยู่จะมอบหมายเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งแทนก็ได้

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ 
                    การย้ายออกจากบ้าน  (เพื่อไปอยู่บ้านอื่นที่อยู่ต่างสำนักทะเบียน)
๑.      ผู้มีหน้าที่แจ้ง
-          เจ้าบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
๒.      ระยะเวลาการแจ้ง
-          ภายใน  ๑๕  วันนับแต่วันผู้อยู่ในบ้านย้ายออก
๓.      สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้ย้ายอยู่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
๔.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้าน)
-          บัตรประจำตัวผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          บัตรประจำตัวของผู้ย้ายที่อยู่ (ถ้ามี)
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
๕.      นายทะเบียน
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง
-          ลงรายการในใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร.๖  สำหรับผู้ย้ายที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.รง๑๔ หรือ ท.ร.๗ สำหรับผู้ย้ายที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๓
-          จำหน่ายรายการคนที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านโดยประทับคำว่า”ย้าย” สีน้ำเงินไว้หน้ารายการบุคคลที่ย้ายออก
-          มอบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๗๙
การแจ้งย้ายเข้าในบ้าน
๑.      หน้าที่แจ้ง
-          เจ้าบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
๒.      ระยะเวลาการแจ้ง
-          ภายใน  ๑๕  วันนับแต่วันผู้อยู่ในบ้าน
๓.      สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่บ้านหลังที่ย้ายเข้าตั้งอยู่
๔.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านหลังที่ย้ายเข้า)
-          บัตรประจำตัวผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          บัตรประจำตัวของผู้ย้ายที่อยู่ (ถ้ามี)
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
-          ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ที่ได้มาจากการแจ้งย้ายออก ซึ่งเจ้าบ้านได้ลงชื่อให้ยินยอมย้ายเข้า
๕.      นายทะเบียน
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง
-          รับแจ้งการย้ายเข้าในใบแจ้งการย้ายที่อยู่
-          เพิ่มชื่อบุคคลที่แจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๙
                    การแจ้งย้ายออกและเข้าในเขตสำนักทะเบียนเดียวกัน
๑.      หน้าที่แจ้ง
-          เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
๒.      ระยะเวลาการแจ้ง
-          ภายใน  ๑๕  วันนับแต่วันผู้อยู่ในบ้าน
๓.      สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้ย้ายที่อยู่มีชื่อในทะเบียนบ้าน  และบ้านหลังที่จะย้ายเข้าตั้งอยู่ในเขตสำนักทะเบียนเดียวกัน
๔.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-           บัตรประจำตัวผู้แจ้งและเจ้าบ้านผู้ยินยอมย้ายเข้า
-          บัตรประจำตัวผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก  และฉบับที่จำแจ้งย้ายเข้า
๕.      นายทะเบียน 
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้งรวมทั้งการแสดงความยินยอมของ      เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
-          ลงรายการในใบการแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร.๖ สำหรับผู้ย้ายที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๔ หรือ ท.ร.๗ สำหรับผู้ย้ายที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๓) ทั้งการย้ายออกและย้ายเข้า
-          จำหน่ายรายการคนที่ย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายออกโดยประทับคำว่า “ย้าย” สีน้ำเงินไว้หน้าบุคคลที่ย้ายออก
-          เพิ่มชื่อบุคคลที่แจ้งย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๔
การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
๑.      หน้าที่แจ้ง
-          ผู้ย้ายที่อยู่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่
๒.      ระยะเวลาการแจ้ง
-          ภายใน  ๑๕  วันนับแต่วันผู้อยู่ในบ้าน
๓.      สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่บ้านหลังที่จะย้ายเข้าตั้งอยู่ในเขตพื้นที่(สำนักทะเบียนปลายทาง)
๔.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวผู้ย้ายที่อยู่
-          บัตรประจำตัวผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากผู้มีหน้าที่แจ้ง (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า  พร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าบ้านที่อนุญาตให้ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
๕.      นายทะเบียน
สำนักทะเบียนปลายทาง
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง
-          ลงรายการในใบการแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร.๖ สำหรับผู้ย้ายที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๔ หรือ ท.ร.๗ สำหรับผู้ย้ายที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๓) ทั้งการย้ายออกและย้ายเข้า
-          จำหน่ายรายการผู้ย้ายที่อยู่ออกจากทะเบียนบ้านของสำนักทะเบียนต้นทางในระบบคอมพิวเตอร์
-          เพิ่มชื่อผู้ย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้านของสำนักทะเบียนปลายทางและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า
-          แจ้งสำนักทะเบียนต้นทางด้วยระบบคอมพิวเตอร์
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
      สำนักทะเบียนต้นทาง
-          เมื่อได้รับทาบการจำหน่ายรายการของผู้ย้ายที่อยู่ทางระบบคอมพิวเตอร์แล้ว  ต้องแจ้งเจ้าบ้านให้นำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาดำเนินการจำหน่ายรายการผู้ย้ายในสำเนาทะเบียนบ้านโดยนายทะเบียนต้องพิมพ์หนังสือแจ้งเจ้าบ้านที่เกี่ยวข้อง  และดำเนินการจัดส่งหนังสือดังกล่าวไปยังเจ้าบ้านโดยไม่ชักช้า  เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคลตามรายชื่อที่ระบุว่าเป็นผู้แจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางนั้นได้ย้ายที่อยู่จริงหรือไม่อย่างไร
-          เมื่อเจ้าบ้านนำสมุดทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาจำหน่ายรายการคนที่ย้ายออกนายทะเบียนต้องประทับคำว่า “ย้าย” สีน้ำเงินหน้ารายการบุคคลที่ย้าย
หมายเหตุ-  กรณีคนไม่มีสัญชาติไทยไม่อนุญาตให้ใช้วิธีการแจ้งย้ายปลายทาง  ยกเว้นคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวร (มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย
   -  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๙๐
                   การย้ายที่อยู่ของคนที่ไปต่างประเทศ
๑.       ผู้มีหน้าที่แจ้ง
-          เจ้าบ้านของบ้านที่คนไปอยู่ต่างประเทศหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
๒.     ระยะเวลาการแจ้ง
-          ภายใน ๑๕  วัน  นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก
๓.       สำนักทะเบียนที่แจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่คนไปต่างประเทศมีชื่อในทะเบียนบ้าน
๔.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
-          บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนไปต่างประเทศมีชื่ออยู่
-          หลักฐานการเดินทางไปต่างประเทศ (ถ้ามี)
๕.      นายทะเบียน
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง
-          ลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.๖) โดยให้หมายเหตุในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ในช่องย้ายไปที่ว่า “ไปต่างประเทศ”
-          จำหน่ายรายการคนที่ไปต่างประเทศในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านโดยประทับคำว่า “ย้าย” สีน้ำเงินไว้หน้ารายการบุคคลที่ไปต่างประเทศ
-          เพิ่มชื่อบุคคลที่ไปต่างประเทศในทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน และบันทึกในสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านตาม (๓) ว่า “ทะเบียนบ้านชั่วคราวลำดับที่”
-          สำนักทะเบียนเก็บใบแจ้งการย้ายที่อยู่ไว้เป็นหลักฐาน
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
          การย้ายที่อยู่เมื่อบุคคลดังกล่าวเดินทางกลับ
๑.       ผู้มีหน้าที่แจ้ง
-          บุคคลที่เดินทางกลับจากต่างประเทศซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
๒.     สำนักทะเบียนที่แจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่คนเดินทางกลับจากต่างประเทศมีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน
๓.      หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทางของผู้ย้ายที่อยู่
-          บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          หลักฐานการเดินทางกลับจากต่างประเทศของผู้ย้ายที่อยู่ (กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นแจ้งแทน)
-          บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า  พร้อมหลักฐานการแสดงความยินยอมของเจ้าบ้านที่อนุญาตให้ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่แจ้งย้ายเข้า
๔.      นายทะเบียน
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้งและตรวจสอบรายการของผู้ย้ายในทะเบียนบ้านชั่วคราว  และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ที่สำนักทะเบียนเก็บไว้
-          ขีดฆ่าคำว่า “ไปต่างประเทศ” และรับแจ้งการย้ายเข้าในแบแจ้งการย้ายที่อยู่
-          จำหน่ายรายการคนที่ย้ายออกจากทะเบียนบ้านชั่วคราวแล้วไปเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ผู้แจ้งประสงค์จะย้ายเข้า
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๗
การแจ้งย้ายที่อยู่ของคนที่ออกไปจากบ้านเป็นเวลานานและไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด
๑.      หน้าที่แจ้ง
-          เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
๒.      ระยะเวลาการแจ้ง
-          ภายใน  ๓๐  วันนับแต่วันที่ออกจากบ้านไปครบ ๑๘๐  วัน
๓.      สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้ออกไปจากบ้านมีชื่อในทะเบียนบ้าน
๔.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้าน)
-          บัตรประจำตัวผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          สำเนาทะเบียนบ้านที่คนออกไปจากบ้านมีชื่ออยู่
-          หลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ออกไปจากบ้าน  เช่น  สำเนาบัตรประจำตัว เป็นต้น (ถ้ามี)
๕.      นายทะเบียน 
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง
-          สอบสวนผู้แจ้งให้ได้ข้อเท็จจริงว่าบุคคลที่แจ้งย้ายออกได้ออกจากบ้านไปเกินกว่า ๑๘๐ วัน และไม่ทราบว่าบุคคลนั้นไปอยู่ที่ใด
-          ลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่  และจำหน่ายรายการคนที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน  โดยให้หมายเหตุว่า  “ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลางลำดับที่”
-          เพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๑
การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
๑.       ผู้มีหน้าที่แจ้ง
-          ผู้ขอย้ายซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน
-          บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครอง (กรณีผู้อยู่ในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์)
-          ผู้ที่ได้รับมอบหมาย (กรณีผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางมีเหตุจำเป็นไม่สามารถแจ้งย้ายออกได้ได้ด้วยตนเอง  เนื่องจากเป็นคนพิการทางกายจนเดินไม่ได้  หรือเป็นผู้ป่วยทุพลภาพ หรือกรณีจำเป็นอื่น)
๒.     สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้ขอย้ายมีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง
๓.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือ
-          บัตรประจำตัวผู้ขอย้ายซึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง
-          หลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ขอย้าย (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน)
-          บัตรประจำตัวผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมาย (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          สำเนาทะเบียนบ้านที่คนออกไปจากบ้านมีชื่ออยู่
-          บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า  พร้อมหลักฐานการแสดงความยินยอมของเจ้าบ้านที่อนุญาตให้ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า

๔.      นายทะเบียน 
-          ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง
-          ตรวจสอบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้ขอแจ้งย้ายเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง
-          ลงรายการในใบแจ้งการบ้ายที่อยู่
-          จำหน่ายรายการผู้ขอย้ายในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน
-          เพิ่มชื่อผู้ขอย้ายเข้าในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า (กรณีบ้านย้ายเข้าอยู่ในสำนักทะเบียนเดียวกัน)
-          มอบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ผู้แจ้ง  (กรณีย้ายออกเพื่อไปเข้าบ้านที่อยู่เขตท้องที่สำนักทะเบียนอื่น)
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๕
การแจ้งย้ายกลับที่เดิม (กรณีย้ายออกไปแล้วยังไม่ไดไปแจ้งย้ายเข้า และขอแจ้งย้ายเข้าบ้านหลังเดิม)
๑.        ผู้มีหน้าที่แจ้ง
-          เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมาย
๒.     สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ใบแจ้งการย้ายออก
๓.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านหลังเดิม)
-          บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          บัตรประจำตัวของผู้ย้ายที่อยู่ (ถ้ามี)
-          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ผู้ย้ายมีชื่อครั้งสุดท้ายก่อนย้ายออก
-          ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ที่ได้มาจากการย้ายออก
๔.     นายทะเบียน 
-          เรียกใบแจ้งการย้ายที่อยู่คืน  และตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง
-          แก้ไขรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ในช่อง “ไปอยู่ที่” โดยระบุคำว่า “กลับที่เดิม”
-          เพิ่มชื่อผู้ขอย้ายในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
-          มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๓


การแจ้งกรณีแจ้งย้ายออกแล้วแต่ใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหายหรือชำรุดก่อนแจ้งย้ายเข้า
๑.       ผู้มีหน้าที่แจ้ง
-          บุคคลที่ลงชื่อผู้แจ้งย้ายออกในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ฉบับที่สูญหาย
๒.     สำนักทะเบียนที่รับแจ้ง
-          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ออกใบแจ้งการย้ายที่อยู่ออก
๓.     หลักฐานประกอบการแจ้ง
-          บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือ
-          บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมาย (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
-          บัตรประจำตัวของผู้ย้ายที่อยู่คนอื่น ๆ ที่มีชื่อเป็นผู้ย้ายออกในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ฉบับที่สูญหายหรือชำรุด  กรณีผู้ย้ายออกมากกว่า ๑  รายการ (ถ้ามี)
๔.      นายทะเบียน
-           ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานของผู้แจ้ง  พร้อมทั้งตรวจสอบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่สำนักทะเบียนเก็บรักษาไว้และรายการในทะเบียนบ้านว่ายังไม่ได้แจ้งย้ายเข้าที่ใดจริงหรือไม่
-          กรณีสูญหายให้ผู้แจ้งแจ้งการสูญหายของใบแจ้งการย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามแบบ ท.ร. ๑๕ แต่ถ้าเป็นกรณีชำรุด  ให้เรียกใบแจ้งการย้ายที่อยู่คืนจากผู้แจ้ง
-          กรณีใบแจ้งย้ายที่อยู่ที่สูญหายไม่ได้ออกให้ผู้แจ้งด้วยระบบคอมพิวเตอร์นายทะเบียนจะต้องออกใบแทนใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยการลงรายการให้ถือปฎิบัติเช่นเดียวกับการออกใบแจ้งการย้ายที่อยู่ใหม่ เว้นแต่วันเดือนปีที่ย้ายออกตามความเป็นจริง (ตามรายการเดิม)  และให้หมายเหตุว่า “ใบแทนใบแจ้งการย้ายที่อยู่”  แต่ถ้าใบแจ้งการย้ายที่อยู่ที่สูญหายออกให้ผู้แจ้งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้นายทะเบียนออกใบแทนใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยสำเนาจากใบแจ้งการย้ายที่อยู่ที่จัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์  แล้วลงชื่อนายทะเบียนกำกับไว้
-          มอบใบแทนใบแจ้งการย้ายที่อยู่และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๙๑
การแจ้งย้ายบุคคลที่เข้ารับราชกรเป็นทหารกองประจำการ
เมื่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ทหารกองประจำการมีชื่อใน
ทะเบียนบ้านได้รับแจ้งจากหน่วยทหารขอแจ้งย้ายที่อยู่ของบุคคลที่เข้ารับราชการทหารกองประจำการให้       นายทะเบียนแจ้งเจ้าบ้านมาดำเนินการแจ้งย้ายออก  โดยถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการแจ้งย้ายออกตามปกติ
                   กรณีเจ้าบ้านไม่มาดำเนินการตามที่นายทะเบียนแจ้ง  ให้นายทะเบียนแจ้งหน่วยทหารเพื่อแจ้งทหารกองประจำการผู้นั้นดำเนินการย้ายที่อยู่ปลายทาง
หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๖
การดำเนินการแจ้งย้ายออกแล้ว  แต่ตายก่อนแจ้งย้ายเข้า
     กรณีมีการแจ้งย้ายที่อยู่ออกจากทะเบียนบ้านแล้ว  แต่ผู้ย้ายที่อยู่ถึงแก่ความตายก่อนที่จะนำหลักฐานไปแจ้งย้ายเข้า  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นดำเนินการดังนี้
-          ระงับการแจ้งย้ายเข้า
-          สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่ผู้ย้ายที่อยู่ถึงแก่ความตายรับแจ้งการตายและส่งมรณบัตรตอน ๒ ไปยังสำนักทะเบียนที่ออกใบแจ้งย้ายที่อยู่
-          สำนักทะเบียนที่ออกใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้หมายเหตุเพิ่มเติมในทะเบียนบ้านว่า “ถึงแก่ความตายก่อนแจ้งย้ายเข้าตามมรณบัตร”
-          กรณีผู้มีส่วนได้เสียนำมรณบัตรตอน ๑ มาแสดงเป็นหลักฐานก็ให้หมายเหตุเช่นเดียวกัน
กรณีตายก่อนแจ้งย้ายเข้าข้างต้น  หากมีชื่อผู้ย้ายที่อยู่คนอื่น ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ร่วมอยู่ด้วย ให้ดำเนินการดังนี้
-          ให้นำใบแจ้งย้ายที่อยู่ไปดำเนินการแจ้งย้ายผู้ที่ยังมีชีวิตเข้าในทะเบียนบ้านที่จะย้ายเข้าโดยถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการแจ้งย้ายเข้าปกติ
-          สำหรับชื่อผู้ย้ายที่ถึงแก่ความตายไปแล้วให้ระงับการแจ้งย้ายเข้าโดยให้หมายเหตุในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ว่า “ บุคคลลำดับที่......ถึงแก่ความตายตามมรณบัตร”
-          แจ้งสำนักทะเบียนต้นทางให้หมายเหตุเพิ่มเติมในทะเบียนบ้านเฉพาะผู้ย้ายที่อยู่ถึงแก่ความตายว่า  “ถึงแก่ความตายก่อนแจ้งย้ายเข้าตามมรณบัตร”

หมายเหตุ  ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๑)  ข้อ ๘๘